5.เคล็ดลับในการขอวีซ่าท่องเที่ยว ถึงตรงนี้หลายคนคงนึกเข็ดขยาดกับการต้องไปยืนรอหน้าสถานทูตแต่เช้าตรู่ ต้องเกร็งกันแทบตายเวลาเขาสัมภาษณ์หรือซักประวัติ ซึ่งส่วนมากเจ้าหน้าที่ในนั้นก็เป็นคนไทยเหมือนกับเรา แต่บางทีก็อดคิดไม่ได้ว่าทำไมคุณ ๆ แต่ละคนถึงชอบทำเบ่งกันจัง ไหนจะความยุ่งยากเรื่องเอกสารอีกบานตะไท ฯลฯ
สิ่งต่าง ๆ ที่เกริ่นมาข้างต้นนั้น เดี๋ยวนี้กลายเป็นอดีตไปแล้วหล่ะครับ ถ้าหากเราไม่สะดวกจะยื่นเรื่องเอง ก็สามารถติดต่อผ่านบริษัททัวร์ให้ทำเรื่องยื่นขอวีซ่าให้ได้ โดยยอมเสียค่าเป็นธุระจัดการให้เขาไปนิดหน่อยก็เรียบร้อย จะมีก็แต่บางกรณีอย่างประเทศเนเธอร์แลนด์หรือสหราชอาณาจักร(อังกฤษ)ที่ค่อนข้างเข้มงวดนิดหน่อย ผู้ขอต้องเดินทางไปด้วยในวันยื่นและอาจจะต้องเป็นผู้ไปรับเอกสารทั้งหมดคืนด้วยตัวเอง
ตอนนี้ประเทศส่วนใหญ่ในสหภาพยุโรป หรือ EU ได้เข้าร่วมในกลุ่มเชงค์เก้นเรียบร้อยแล้วครับ เราสามารถขอประเทศใดประเทศหนึ่งในกลุ่มนั้นแล้วเดินทางเข้าออกประเทศสมาชิกได้ทั้งหมด ยกเว้นก็เพียงแต่สหราชอาณาจักร(อังกฤษ) แล้วก็กลุ่มประเทศที่แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียตเก่าบางประเทศเท่านั้น ที่เราต้องขอวีซ่าแยกต่างหาก ส่วนข้อที่ว่าควรจะขอประเทศอะไรนั้นก็ให้ดูว่าเราตั้งใจไปลงเครื่องที่ไหนก่อนเป็นอันดับแรกครับ ถ้าขอวีซ่าประเทศอะไรไป เราต้องบินเข้าแล้วก็บินออกจากประเทศนั้นเท่านั้นครับ
ส่วนใครที่ฝันหวานว่าไปเที่ยวยุโรปทั้งที ได้ผ่านเข้าประเทศนู้นออกประเทศนี้แล้วจะได้ประทับตรามาเต็มพาสปอร์ตนั้น ขอบอกว่าเตรียมตัวฝันสลายครับ ขอประเทศเดียวก็ได้แค่ประเทศเดียวจริง ๆ อีกอย่างตอนผ่านแดนก็ไม่ได้มี ตม. มายุ่มย่ามวุ่นวายกับเราเท่าไหร่ นอกจากว่าจะผ่านไปแถบยุโรปตะวันออก ซึ่งอาจจะโดนตรวจนิดหน่อยฐานหน้าตาท่าทางเหมือนคนต่างด้าวไงครับ
ส่วนคนที่อยากจะยื่นเรื่องเองก็สามารถทำได้โดยง่าย รายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารและแบบฟอร์มสำหรับกรอกสามารถดาวน์โหลดได้โดยตรงจากเวปไซต์ของสถานทูต ซึ่งบางแห่งจะมีการนัดคิวล่วงหน้าทางอินเตอร์เน็ตซึ่งจึงนับได้ว่าสะดวกมากครับ เราไม่จำเป็นต้องไปแต่เช้ามืดเหมือนเมื่อก่อน อย่างคราวล่าสุดผมไปขอวีซ่าที่สถานทูตเนเธอร์แลนด์ก็ใช้วิธีนัดช่วง 11.00 น. แล้วก็เดินทางแบบไปเช้า-เย็นกลับจากเชียงใหม่ได้เลย ถือได้ว่าสะดวกมากครับ
หลักฐานประกอบการขอหลัก ๆ แล้วก็จะมีประเภท หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองเงินเดือน ใบลา หนังสือรับรองจากญาติหรือเจ้าบ้านทางนู้น(ถ้ามี จะดีมาก) สเตทเมนต์ย้อนหลัง 6 เดือน หนังสือจดทะเบียนการค้าและหลักฐานการเสียภาษี(ในกรณีเป็นเจ้าของกิจการ) ส่วนใหญ่แล้วเขาก็จะเรียกเท่านี้ แต่ในกรณีที่เรายื่นเรื่องเองและเดินทางเอง ทางสถานทูตเขาก็อาจจะใช้เวลาพิจารณาเอกสารให้ละเอียดถี่ถ้วนหน่อย แล้วก็อาจจะเรียกขอเอกสารบางตัวเพิ่ม ซึ่งตรงนี้ผมก็มีเคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ มาฝากครับ เผื่อจะทำให้วีซ่าเราได้รับการอนุมัติไวขึ้น
5.1. เอกสารด้านการเงินหรือสเตทเมนต์ย้อนหลัง 6 เดือน ควรจะตกแต่งให้ดูดีที่สุด มีการเดินบัญชีสม่ำเสมอ วิธีทำไม่ยากครับแค่ผันเงินมาเข้าบัญชีของเราให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เงินที่เตรียมไว้จะไปจ่ายค่าอะไรก็ตามแต่ ให้เอาเข้ามาพักในบัญชีก่อนเป็นอันดับแรก เสร็จแล้วค่อยเบิกออกไป ตอนเบิกออกก็ให้เบิกเกินเข้าไว้เมื่อจ่ายเสร็จแล้วค่อยนำเงินที่เหลือมาเข้าบัญชีใหม่ หรือบางคนอาจจะให้วิธียืมเงินผู้ปกครองมาพักไว้ในบัญชีก็ไม่เลว แต่อย่าเผลอเอาเงินส่วนนี้ไปใช้ก็แล้วกัน ไม่งั้นจะต้องมาปวดหัวคอยเคลียหนี้ในตอนหลังนะครับ สิ่งต่าง ๆ ที่เกริ่นมาข้างต้นนั้น เดี๋ยวนี้กลายเป็นอดีตไปแล้วหล่ะครับ ถ้าหากเราไม่สะดวกจะยื่นเรื่องเอง ก็สามารถติดต่อผ่านบริษัททัวร์ให้ทำเรื่องยื่นขอวีซ่าให้ได้ โดยยอมเสียค่าเป็นธุระจัดการให้เขาไปนิดหน่อยก็เรียบร้อย จะมีก็แต่บางกรณีอย่างประเทศเนเธอร์แลนด์หรือสหราชอาณาจักร(อังกฤษ)ที่ค่อนข้างเข้มงวดนิดหน่อย ผู้ขอต้องเดินทางไปด้วยในวันยื่นและอาจจะต้องเป็นผู้ไปรับเอกสารทั้งหมดคืนด้วยตัวเอง
ตอนนี้ประเทศส่วนใหญ่ในสหภาพยุโรป หรือ EU ได้เข้าร่วมในกลุ่มเชงค์เก้นเรียบร้อยแล้วครับ เราสามารถขอประเทศใดประเทศหนึ่งในกลุ่มนั้นแล้วเดินทางเข้าออกประเทศสมาชิกได้ทั้งหมด ยกเว้นก็เพียงแต่สหราชอาณาจักร(อังกฤษ) แล้วก็กลุ่มประเทศที่แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียตเก่าบางประเทศเท่านั้น ที่เราต้องขอวีซ่าแยกต่างหาก ส่วนข้อที่ว่าควรจะขอประเทศอะไรนั้นก็ให้ดูว่าเราตั้งใจไปลงเครื่องที่ไหนก่อนเป็นอันดับแรกครับ ถ้าขอวีซ่าประเทศอะไรไป เราต้องบินเข้าแล้วก็บินออกจากประเทศนั้นเท่านั้นครับ
ส่วนใครที่ฝันหวานว่าไปเที่ยวยุโรปทั้งที ได้ผ่านเข้าประเทศนู้นออกประเทศนี้แล้วจะได้ประทับตรามาเต็มพาสปอร์ตนั้น ขอบอกว่าเตรียมตัวฝันสลายครับ ขอประเทศเดียวก็ได้แค่ประเทศเดียวจริง ๆ อีกอย่างตอนผ่านแดนก็ไม่ได้มี ตม. มายุ่มย่ามวุ่นวายกับเราเท่าไหร่ นอกจากว่าจะผ่านไปแถบยุโรปตะวันออก ซึ่งอาจจะโดนตรวจนิดหน่อยฐานหน้าตาท่าทางเหมือนคนต่างด้าวไงครับ
ส่วนคนที่อยากจะยื่นเรื่องเองก็สามารถทำได้โดยง่าย รายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารและแบบฟอร์มสำหรับกรอกสามารถดาวน์โหลดได้โดยตรงจากเวปไซต์ของสถานทูต ซึ่งบางแห่งจะมีการนัดคิวล่วงหน้าทางอินเตอร์เน็ตซึ่งจึงนับได้ว่าสะดวกมากครับ เราไม่จำเป็นต้องไปแต่เช้ามืดเหมือนเมื่อก่อน อย่างคราวล่าสุดผมไปขอวีซ่าที่สถานทูตเนเธอร์แลนด์ก็ใช้วิธีนัดช่วง 11.00 น. แล้วก็เดินทางแบบไปเช้า-เย็นกลับจากเชียงใหม่ได้เลย ถือได้ว่าสะดวกมากครับ
หลักฐานประกอบการขอหลัก ๆ แล้วก็จะมีประเภท หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองเงินเดือน ใบลา หนังสือรับรองจากญาติหรือเจ้าบ้านทางนู้น(ถ้ามี จะดีมาก) สเตทเมนต์ย้อนหลัง 6 เดือน หนังสือจดทะเบียนการค้าและหลักฐานการเสียภาษี(ในกรณีเป็นเจ้าของกิจการ) ส่วนใหญ่แล้วเขาก็จะเรียกเท่านี้ แต่ในกรณีที่เรายื่นเรื่องเองและเดินทางเอง ทางสถานทูตเขาก็อาจจะใช้เวลาพิจารณาเอกสารให้ละเอียดถี่ถ้วนหน่อย แล้วก็อาจจะเรียกขอเอกสารบางตัวเพิ่ม ซึ่งตรงนี้ผมก็มีเคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ มาฝากครับ เผื่อจะทำให้วีซ่าเราได้รับการอนุมัติไวขึ้น
5.2. โชว์บัตรเครดิตและเงินสดที่จะนำไปใช้ บัตรเครดิตไม่ต้องถึงขนาดถ่ายเอกสารหน้า-หลังแนบไปพร้อมลายเซ็นต์นะครับ อันนั้นค่อนข้างอันตรายไปซักหน่อย แค่กรอกในแบบฟอร์มว่าเรามีบัตรอะไร ธนาคารไหนบ้างก็พอ ส่วนเงินสดนั้นผมอยากจะแนะนำว่าแลกเป็นแทรเวลเช็คไปจะดีกว่า ถึงแม้มันจะดูล้าสมัยไปสักหน่อยแต่เรื่องความปลอดภัยแล้วหายห่วงครับ
ทีนี้บางสถานทูตจะมีเงื่อนไขว่าต้องมีเงินสำหรับใช้ประจำวันขั้นต่ำเท่าไหร่ สำหรับทางสถานทูตเนเธอร์แลนด์เขากำหนดไว้ว่าขั้นต่ำต่อวันที่ 34 ยูโร เราก็คูณจำนวนวันแล้วก็แลกเช็คตามนั้นได้เลยครับ อย่าลืมแนบ Debit Note ซึ่งก็คือหลักฐานการแลกเช็คไปพร้อมกับเอกสารการยื่นขอด้วยนะครับ
ต้องขออภัยทุกท่านด้วยนะครับ สำหรับเรื่องตัวเลขจำพวกค่าธรรมเนียมหรือรายละเอียดปลีกย่อยที่ผมมักจะเอ่ยถึงแต่ก็ไม่ได้ให้ข้อมูลมากนัก ได้แต่บอกให้คุณ ๆ ไปเซิร์จหาข้อมูลเอาเองจากอินเตอร์เน็ต ใจจริงอยากให้ลองทำทุกอย่างด้วยตัวเองดูหน่ะครับแล้วจะรู้ว่ามันไม่ยากเลย อีกอย่างหนึ่งข้อมูลพวกนี้ก็มีการอัพเดทอยู่ตลอดเวลา ถ้าอยากได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและแน่นอนกว่าก็ควรลองหาดูเอาจากเวปไซต์ต่าง ๆ ด้วยตัวเองดูนะครับ
5.3. แนบเอกสารการจองตั๋วเครื่องบินและรถไฟไปด้วยเลยครับ ตั๋วเครื่องบินควรระบุวันเดินทางไป-กลับให้ชัดเจน ตั๋วรถไฟถ้าเป็นยูเรลพาสต์ก็ควรจะมีระยะเวลาครอบคลุมหมายกำหนดการณ์ของเราทั้งหมด เอาให้เคลียไปเลยว่าเราไปแน่-กลับมาแน่ ไม่ต้องห่วงว่าจะไปโดดร่มเป็นโรบินฮู้ดอยู่ที่นั่น
5.4. เอกสารการจองห้องพักและตารางการเดินทางที่แน่นอน เขียนไปคร่าว ๆ ก็ได้ครับว่าระหว่างที่อยู่ที่นู่นเราจะไปที่ไหนและพักอย่างไร ข้อนี้ก็สำคัญครับเพราะเค้าจะได้แน่ใจว่าเมื่อเราไปถึงที่นู่นได้จัดการทุกอย่างไว้เรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่ดุ่ม ๆ ไปตายเอาดาบหน้าทำตัวเป็นนกขมิ้นเหลืองอ่อนค่ำไหนนอนนั่น เผลอ ๆ ไปทำตัวเป็นคนไร้บ้านให้เป็นภาระแก่เขาเสียอีก ถ้าเป็นอย่างนั้นเขาคงจะไม่อยากให้เราไปหรอกครับ ยังไงก็เตรียมเรื่องนี้ให้พร้อมจะเป็นการดีกว่า
6. การสำรองที่พัก ในข้อที่แล้วเราได้คุยกันถึงเรื่องเอกสารการสำรองห้องพักที่ควรจะยื่นไปพร้อมกับแบบฟอร์มการขอวีซ่า ทีนี้ก็มาดูกันครับว่าควรจะหาดูที่พักดี ๆ ได้ที่ไหนกัน ก่อนอื่นลองหาดูเอาจากกูเกิลก่อนนะครับ ลองใช้คีย์เวอร์ดง่าย ๆ เช่น Cheap Hotel in Europe แล้วมันก็จะมีลิงค์ของเวปไซต์ต่าง ๆ ขึ้นมา เราก็เข้าไปเลือกดูได้เลยครับว่าอยากได้ห้องประมาณไหน
การจองห้องของแต่ละที่นั้นให้ดูให้ดีนะครับว่าเราได้จ่ายค่าห้องไปแล้วหรือว่าแค่จองเฉย ๆ เมื่อทำรายการเสร็จก็ปรินต์ใบจองเก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งชุด แล้วถ่ายสำเนาสำหรับยื่นสถานทูตอีกหนึ่งชุดครับ
สำหรับผมแล้วแรก ๆ ก็ตัดสินใจยากอยู่เหมือนกันว่าจะพักที่ไหนอย่างไรดี เพราะโรงแรมในยุโรปอย่างพื้น ๆ ไม่มีอะไรเลยก็สี่ห้าพันเข้าไปแล้ว ราคาขนาดนี้ถ้าเป็นบ้านเราก็สามารถพักโรงแรมหรูระดับสี่-ห้าดาวได้สบาย จนกระทั่งพี่คนนึงแนะนำโรงแรม Ibis Hotel ให้ เรียกได้ว่าโดนมาก ห้องพักมาตรฐาน เพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ห้องน้ำสะอาด การออกแบบโดยรวมดูทันสมัย เรื่องความสะดวกและปลอดภัยไม่ต้องพูดถึงเพราะตั้งอยู่ในย่านท่องเที่ยวสำคัญกลางเมือง ที่สำคัญราคาค่อนข้างถูกมากตกอยู่ที่ประมาณสามถึงสี่พันกว่า ๆ แล้วแต่ย่านที่เราเลือกอีกที ลองคลิ๊กเข้าไปชมเวปไซต์ของเขาได้ที่นี่นะครับ http://www.ibishotel.com/ รับรองไม่ผิดหวังครับ
อีกสองเวปไซต์ที่อยากจะแนะนำไว้ตรงนี้เผื่อเป็นทางเลือกให้อีกหลาย ๆ เมืองที่อาจจะไม่มีโรงแรมอีบีสเปิดให้บริการ http://www.agoda.com/ แล้วก็ http://www.booking.com/ ยังไงก็ลองเข้าไปหาข้อมูลกันดูตามสะดวกนะครับ
7.ทีนี้พอพูดถึงการอยู่ไปแล้วก็มาถึงการกินครับ สำหรับใครหลาย ๆ คนเรื่องกินเรื่องใหญ่เลยทีเดียว ยิ่งคนไทยด้วยแล้ว ไปบ้านไหนเมืองไหนจะให้เจออาหารถูกปากเหมือนอยู่บ้านตัวเองเป็นไม่มี อาหารไทยในต่างแดนนั้นเป็นของสูงและค่อนข้างจะไกลเกินเอื้อมไปสักหน่อย ร้านอาหารไทยถึงแม้จะมีอยู่เกือบทุกเมืองแต่ราคาค่อนข้างแพง ส่วนอาหารจีนกลับกลายเป็นของพื้น ๆ ไปเสียอีก สามารถหากินได้ทั่วไป อร่อยบ้างไม่อร่อยบ้างแล้วแต่ดวงครับ
หลาย ๆ คนคงเป็นเหมือนผมที่ไม่ถูกกับอาหารฝรั่งอย่างรุนแรง เพราะรสชาติที่ทั้งจืดและเลี่ยนจนเกินจะทน ตรงนี้ผมมีวิธีแก้ปัญหาง่าย ๆ มาฝากครับ ให้เตรียมน้ำพริกสำเร็จรูปไปด้วยเลยจากบ้าน จำพวกน้ำพริกแห้ง ๆ สารพัดสูตร ที่เขาทำสำเร็จใส่ประปุกขายตามห้างหรือตามซุปเปอร์มาร์เก็ตนั่นแหล่ะครับ เรื่องการกินให้ถูกปากนี่ขอให้บอกครับ ของแบบนี้คนไทยถนัดนัก ไม่ว่าจะกินข้างทางหรือตามภัตตาคารหรู จะเป็นแซนด์วิช เบอร์เกอร์ หมี่ผัดหมี่ซั่ว สเต็ค แฮม หรือข้าวอบต่าง ๆ แค่เราเหยาะน้ำพริกพวกนี้ลงไปซักหน่อย ก็พอคลายความเลี่ยนและความคิดถึงอาหารไทยไปได้อักโข ไม่เชื่อลองทำดูนะครับ
ทีนี้พวกที่พักบางแห่งที่ราคาถูกกว่า(รวมทั้งอีบิส) ราคาค่าห้องต่อคืนมักจะไม่รวมอาหารเช้า ถ้าเราจะทานอาหารเช้าไปจากโรงแรมเขาก็จะบวกเพิ่มต่างหาก ซึ่งก็แพงเอาการอยู่ วิธีหนึ่งที่พอจะช่วยเราประหยัดค่าอาหารเช้าได้ก็คือ ไปหาซื้อของจากซุปเปอร์มาเก็ตมาตุนไว้ครับ พวกขนมนมเนยผักผลไม้น่ากินกว่าบ้านเราเย๊อะ ราคาก็พอประมาณแต่ที่สำคัญถูกปากกว่าไปกินตามร้านด้วยครับ มีข้อควรจำอยู่นิดหน่อยก็คือ ซุปเปอร์มาร์เก็ตบ้านเขาปิดหกโมงเย็นและหยุดทุกวันอาทิตย์ ฉนั้นถ้าไม่อยากอดตาย อย่าลืมซื้อของตุนเผื่อวันอาทิตย์ให้เรียบร้อยด้วยนะครับ

ห้องพักที่สเปนราคาไม่ถึงร้อยยูโรสะดวกสบายพอใช้
ห้องพักที่สวิสเซอร์แลนด์ราคาแพงมากสองร้อยกว่ายูโรแต่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันทุกสิ่งอย่าง
ห้องพักที่โรมราคาร้อยกว่ายูโรแต่หายากมากเพราะไม่ได้เตรียมตัวไปแต่เนิ่น ๆ แต่ก็นับว่าคุ้มเหนื่อย
อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในห้องน้ำที่เกินจำเป็นไปซักหน่อย แถมใช้งานได้ไม่เต็มที่เพราะน้ำประปาไม่แรงเลย
ห้องพักที่ Granada สเป็น ราคาประมาณร้อยกว่ายูโรแต่สวยงามสะดวกสะบายมาก
ไม่ได้ถ่ายรูปห้องที่ Ibis Hotel มาให้ดูเลยนะครับ ห้องจะเล็กกว่านี้หน่อยแล้วก็ห้องน้ำไม่อลังขนาดนี้ แต่รับรองสวยและน่ารักครับ
ตอบลบ